ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และยาวนานของสหราชอานาจักร
EARLY BRITAIN ยุคแรกของสหราชอาณาจักร
The first people to live in Britain were hunter-gatherers, in what we call the Stone Age. For much of the Stone Age, Britain was connected to the continent by a land bridge. People came and went, following the herds of deer and horses which they hunted. Britain only
became permanently separated from the continent by the Channel about
10,000 years ago.
คนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่ในอังกฤษเป็นชนเผ่าเร่ร่อนล่าสัตว์และแสวงหาของกินในป่าในสมัย
ที่เราเรียกกันว่ายุคหิน ช่วงเวลาส่วนใหญ่ในยุคหินนี้ อังกฤษกับผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปยังมีแผ่น
ดินเชื่อมต่อถึงกัน ผู้คนในเวลานั้นได้ใช้แผ่นดินเชื่อมต่อนี้เป็นทางสัญจรไปมาระหว่างอังกฤษ
กับผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปเพื่อตามล่าและไล่ต้อนฝูงกวางและม้า อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ
10,000 ปีล่วงมาแล้วแผ่นดินเชื่อมต่อ นี้ได้หายไปและเกิดเป็นช่องแคบที่ตัดขาดอังกฤษออก
จากผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยสิ้นเชิง
The first farmers arrived in Britain 6,000 years ago. The ancestors of these first
farmers probably came from southeast Europe. These people built houses,
tombs, and monuments on the land. One of these monuments, Stonehenge, still
stands in what is now the English county of Wiltshire. Stonehenge was probably
a special gathering place for seasonal ceremonies. Other Stone Age sites have
also survived. Skara Brae on Orkney, off the north coast of Scotland, is the best
preserved prehistoric village in northern Europe and has helped archaeologists
to understand more about how people lived near the end of the Stone Age.
เกษตกรกลุ่มแรกได้เดินทางเข้ามาในอังกฤษเมื่อ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว บรรพบุรุษของ
ชาวไร่ชาวนารุ่นแรกคงจะมาจากยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ชนกลุ่มนี้ได้ก่อสร้างบ้านเรือน หลุม
ฝังศพและอนุสาวรีย์ขึ้นมาในที่ดินอังกฤษ หนึ่งในอนุสาวรีย์เหล่านี้ คือ สโตนเฮนจ์ ที่ยังคงตั้ง
อยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นมณฑลวิลท์เชียร์ของอังกฤษในปัจจุบัน ผู้คนสมัยนั้นคงจะใช้สโตนเฮนจ์เป็น
สถานชุมนุมพิเศษสำหรับประกอบพิธีเฉลิมฉลองตามฤดูกาล นอกจากนี้ ยังมีแหล่งชุมชนยุคหิน
อื่นๆ หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น สแกร่า เบร (Skara Brae) บนเกาะออร์คนีย์ นอกชายฝั่ง
ทางเหนือของสก็อตแลนด์ สแกร่า เบร เป็นหมู่บ้านยุคก่อนประวัติศาสตร์ในยุโรปเหนือที่ยังคง
สภาพเดิมไว้ได้ดีที่สุด และช่วยให้นักโบราณคดีได้เรียนรู้เข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของผู้คน
ในสมัยยุคหินตอนปลายได้มากยิ่งขึ้น
Around 4,000 years ago, people learned to make bronze. We call this period
the Bronze Age. People lived in roundhouses and buried their dead in tombs
called round barrows. The people of the Bronze Age were accomplished
metalworkers who made many beautiful objects in bronze and gold, including
tools, ornaments, and weapons. The Bronze Age was followed by the Iron Age
when people learned how to make weapons and tools out of iron. People still
lived in roundhouses, grouped together into larger settlements, and sometimes
defended sites called hill forts. A very impressive hill fort can still be seen today
at Maiden Castle, in the English county of Dorset. Most people were farmers,
craft workers, or warriors. The language they spoke was part of the Celtic language
family. Similar languages were spoken across Europe in the Iron Age, and related
languages are still spoken today in some parts of Wales, Scotland, and Ireland.
The people of the Iron Age had a sophisticated culture and economy. They
made the first coins to be minted in Britain, some inscribed with the names of
Iron Age kings. This marks the beginnings of British history.
เมื่อประมาณ 4,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์เราได้เรียนรู้การทำเครื่องมือเครื่องใช้จากทองสัมฤทธิ์
เราเรียกยุคนั้นว่า ‘ยุคทองสัมฤทธิ์’ ผู้คนสมัยนั้นอาศัยอยู่ในบ้านทรงกลม และฝังศพคนตาย
ไว้ในหลุมฝังศพที่เรียกว่าเนินดินกลม คนในยุคทองสัมฤทธิ์เป็นช่างโลหะที่มีฝีมือสูง ช่างโลหะ
เหล่านี้ได้ประดิษฐ์สิ่งของที่สวยงามจากทองสัมฤทธิ์และทองขึ้นมามากมาย อาทิ เครื่องมือ
เครื่องประดับตกแต่ง และอาวุธ ต่อจากยุคทองสัมฤทธิ์ คือ ยุคเหล็ก เป็นยุคที่มนุษย์เราเรียน
รู้วิธีการนำเหล็กมาใช้ทำเป็นอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้คนในยุคนั้นยังคง
อาศัยอยู่ในบ้านทรงกลม และตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มใหญ่รวมกัน และบางครั้งก็ช่วยกันสู้รบป้องกัน
ป้อมปราการที่เรียกว่าป้อมเนิน ปัจจุบันนี้ยังมีป้อมเนินที่น่าประทับใจหลงเหลืออยู่ที่ปราสาท
เมเด็นในมณฑลดอร์เส็ทของอังกฤษ คนส่วนใหญ่ในยุคนั้นมีอาชีพเป็นชาวไร่ชาวนา ช่างฝีมือ
หรือนักรบ ภาษาที่พูดเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษาเซลติก ผ้คู นทั่วทวีปยุโรปในยุคเหล็กก็พูด
ภาษาที่คล้ายคลึงกัน ในปัจจุบันผู้คนในพื้นที่บางส่วนของเวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์ยัง
คงพูดภาษาที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาเซลติกอยู่ มนุษย์ยุคเหล็กมีวัฒนธรรมและระบบเศรษฐกิจที่
ละเอียดซับซ้อน คนยุคนี้ได้ทำเหรียญกษาปณ์ขึ้นมาในอังกฤษเป็นครั้งแรก เหรียญบางชนิด
จารึกพระนามของกษัตริย์บางองค์ในยุคเหล็ก และนี่คือจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แห่งอังกฤษ.
The Romans อังกฤษยุคโรมัน
Julius Caesar led a Roman invasion of Britain in 55 BC. This was unsuccessful
and for nearly 100 years Britain remained separate from the Roman Empire.
In AD 43 the Emperor Claudius led the Roman army in a new invasion. This
time, there was resistance from some of the British tribes but the Romans were
successful in occupying almost all of Britain. One of the tribal leaders who
fought against the Romans was Boudicca, the queen of the Iceni in what is now
eastern England. She is still remembered today and there is a statue of her on
Westminster Bridge in London, near the Houses of Parliament.
เมื่อ 55 ปีก่อนคริสตศักราช จูเลียส ซีซาร์ ได้นำทัพโรมันเข้ารุกรานอังกฤษแต่ไม่สำเร็จ อังกฤษ
ยังคงเป็นอิสระจากการแผ่อำนาจยึดครองของจักรวรรดิโรมันนานเกือบ 100 ปี อย่างไรก็ตาม
ในปี ค.ศ. 43 จักรพรรดิคลอเดียสได้นำทัพโรมันบุกเข้ามาในอังกฤษอีก และครั้งนี้ชนพื้นเมือง
อังกฤษบางเผ่าได้ต่อสู้ป้องกันดินแดนของตน แต่ทัพโรมันมีชัยชนะสามารถเข้ายึดครองพื้นที่
เกือบทั้งหมดของอังกฤษได้ หนึ่งในบรรดาผู้นำเผ่าที่สู้รบกับชาวโรมัน คือ พระราชินีบูดิกกา
ผู้นำชนเผ่าไอซินีซึ่งเคยครอบครองพื้นที่ภาคตะวันออกของอังกฤษในปัจจุบัน ทุกวันนี้ชาวอังกฤษ
ยังคงระลึกถึงพระราชินีบูดิกกา และมีอนุสาวรีย์ของพระนางอยู่บนสะพานเวสต์มินสเตอร์ใกล้
กับตึกรัฐสภาในกรุงลอนดอน
Areas of what is now Scotland were never conquered by the Romans, and
the Emperor Hadrian built a wall in the north of England to keep out the Picts
(ancestors of the Scottish people). Included in the wall were a number of forts.
Parts of Hadrian’s Wall, including the forts of Housesteads and Vindolanda, can
still be seen. It is a popular area for walkers and is a UNESCO (United Nations
Educational, Scientific and Cultural Organization) World Heritage Site.
อาณาบริเวณที่เป็นพื้นที่สก็อตแลนด์ในปัจจุบันไม่เคยตกอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวโรมัน
และจักรพรรดิเฮเดรียนได้ทรงสร้างกำแพงขึ้นมาในพื้นที่ตอนเหนือของอังกฤษ เพื่อป้องกันการ
รุกรานจากชนเผ่าพิกต์ (บรรพบุรุษของชาวสก็อตแลนด์) นอกจากจะสร้างกำแพงแล้ว ยังมีการ
สร้างป้อมปราการขึ้นมาด้วย บางส่วนของกำแพงเฮเดรียน ตลอดจนป้อมเฮาส์สเตด และป้อม
วินโดแลนดา ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน กำแพงเฮเดรียนเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยม
จากนักเดินเที่ยว และได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก (องค์การศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ)
The Romans remained in Britain for 400 years. They built roads and public
buildings, created a structure of law, and introduced new plants and animals.
It was during the 3rd and 4th centuries AD that the first Christian communities
began to appear in Britain.
ชาวโรมันปักหลักอยู่ในอังกฤษเป็นเวลานาน 400 ปี และได้สร้างถนนและอาคารสาธารณะ
ตลอดจนจัดวางระเบียบโครงสร้างทางกฎหมาย และนำพืชพันธุ์และสัตว์ชนิดใหม่เข้ามาใน
อังกฤษ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 และที่ 4 ชุมชนชาวคริสต์กลุ่มแรกได้เริ่มปรากฏตัวขึ้นใน
อังกฤษ
The Anglo-Saxons อังกฤษยุคแองโกล-แซกซัน
The Roman army left Britain in AD 410 to defend other parts of the Roman
Empire and never returned. Britain was again invaded by tribes from northern
Europe: the Jutes, the Angles, and the Saxons. The languages they spoke are
the basis of modern-day English. Battles were fought against these invaders
but, by about AD 600, Anglo-Saxon kingdoms were established in Britain. These
kingdoms were mainly in what is now England. The burial place of one of the
kings was at Sutton Hoo in modern Suffolk. This king was buried with treasure
and armor, all placed in a ship that was then covered by a mound of earth.
Parts of the west of Britain, including much of what is now Wales, and Scotland,
remained free of Anglo¬Saxon rule.
ทัพโรมันได้เดินทางออกจากอังกฤษในปี ค.ศ. 410 เพื่อไปทำสงครามสู้รบป้องกันดินแดน
ส่วนอื่นๆ ของจักรวรรดิโรมัน และไม่ได้ยกทัพกลับเข้ามาในอังกฤษอีกเลย จากนั้นอังกฤษได้
ถูกชนเผ่าอื่นๆ จากตอนเหนือของยุโรปรุกรานเข้ามา ได้แก่ เผ่าจูท แองเกิล และแซกซัน ชน
เผ่าเหล่านี้พูดภาษาที่เป็นรากฐานของภาษาอังกฤษยุคปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองในอังกฤษได้ทำการ
สู้รบกับผู้รุกรานเหล่านี้ แต่ในราวปี ค.ศ. 600 ผู้บุกรุกก็สามารถสถาปนาอาณาจักรแองโกล-
แซกซันขึ้นมาได้ในอังกฤษ อาณาจักรเหล่านี้ครอบครองพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่คือประเทศอังกฤษ
ปัจจุบัน เวลานี้ยังมีที่ฝังพระศพของกษัตริย์องค์หนึ่งอยู่ที่ซัททันฮูในมณฑลซัฟโฟล์ค พระศพ
ของกษัตริย์องค์นี้ได้ถูกฝังพร้อมทรัพย์สมบัติและเสื้อเกราะวางรวมกันไว้ในเรือ แล้วฝังกลบ
ด้วยเนินดินพูนสูง อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทางตะวันตกของอังกฤษ รวมถึงดินแดนส่วนใหญ่ที่เป็น
เวลส์ และสก็อตแลนด์ในปัจจุบัน ยังคงเป็นอิสระจากการยึดครองของชาวแองโกล-แซกซัน
The Anglo-Saxons were not Christians when they first came to Britain but, during
this period, missionaries came to Britain to preach about Christianity. Missionaries
from Ireland spread the religion in the north. The most famous of these were St
Patrick, who would become the patron saint of Ireland (see page 151 for more
about patron saints), and St Columba, who founded a monastery on the island
of lona, off the coast of what is now Scotland. St Augustine led missionaries
from Rome, who spread Christianity in the south. St Augustine became the
first Archbishop of Canterbury (see page 150 for more about the Archbishop of
Canterbury and the Church in Britain today).
เมื่อเข้ามาในอังกฤษครั้งแรก กลุ่มชนแองโกล-แซกซันยังไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ แต่ในช่วง
เวลานี้ได้มีคณะผู้เผยแผ่ศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแพร่คำสอนของศาสนาคริสต์ที่อังกฤษ
คณะผู้เผยแผ่ศาสนาจากไอร์แลนด์ได้ทำการเผยแผ่ศาสนาในภาคเหนือ พระที่มีชื่อเสียงมาก
ที่สุด คือ นักบุญเซนต์แพทริค ซึ่งต่อมาได้รับยกย่องเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของไอร์แลนด์
(ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักบุญองค์อุปถัมภ์ที่หน้า 151) และนักบุญเซนต์โคลัมบา ผู้ก่อตั้ง
วัดบนเกาะไอโอนานอกชายฝั่งพื้นที่สก็อตแลนด์ในปัจจุบัน นักบุญเซนต์ออกัสตินได้นำคณะ
ผู้เผยแผ่ศาสนาเดินทางจากกรุงโรมเข้ามาเผย แผ่คริสตศาสนาในภาคใต้ และนักบุญ
เซนต์ออกัสตินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครสังฆราชแห่งแคนเทอร์เบอรี่ (Archbishop of
Canterbury) องค์แรกของอังกฤษ
The Vikings อังกฤษยุคไวกิ้ง
The Vikings came from Denmark and Norway. They first visited Britain in AD 789
to raid coastal towns and take away goods and slaves. Then, they began to stay
and form their own communities in the east of England and Scotland. The Anglo-
Saxon kingdoms in England united under King Alfred the Great who defeated
the Vikings. Many of the Viking invaders stayed in Britain – especially in the east
and north of England, in an area known as the Danelaw (many place names
there, such as Grimsby and Scunthorpe, which come from the Viking languages). The
Viking settlers mixed with local communities and some converted to Christianity.
ชาวไวกิ้งเป็นกลุ่มชนจากเดนมาร์กและนอร์เวย์ พวกไวกิ้งบุกเข้ามาในอังกฤษครั้งแรก เมื่อปี
ค.ศ. 789 เพื่อปล้นค้าในเมืองต่างๆทีตั่งอยู่บนชายฝั่งทะเลและจับตัวผู้คนไป้เป็นทาส จากนั้น
ชาวไวกิ้งได้เริ่มเข้ามาอาศัยอยู่่และตั้งชุมชนของตนเองขึ้นมาในภาคตะวันออกของอังกฤษและ
สก็อตแลนด์ พระเจ้าอัลเฟร็ดมหาราชได้ทรงผนวกอาณาจักรแองโกล-แซกซันต่างๆ ในอังกฤษ
เข้าด้วยกัน และนำทัพเข้าสู้รบและตีพวกไวกิ้งแตกพ่ายไป อย่างไรก็ตามชาวไวกิ้งผู้รุกราน
จำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในอังกฤษต่อไป โดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคเหนือของ
อังกฤษ ในอาณาบริเวณที่เรียกว่า เดนลอว์ (ชื่อสถานที่หลายแห่งที่นั่น เช่น กริมสบี และสกันธอร์ป
เป็นชื่อที่มาจากภาษาไวกิ้ง) ชาวไวกิ้งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ได้แต่งงานและมีความสัมพันธ์กับคน
ในชุมชนพื้นเมืองและบางคนหันมานับถือศาสนาคริสต์
Anglo-Saxon kings continued to rule what is now England, except for a short period
when there were Danish kings. The first of these was Cnut also called Canute.
กษัตริย์ชาวแองโกล-แซกซัน ยังคงปกครองอาณาบริเวณซึ่งเป็นพื้นที่ประเทศอังกฤษใน ปัจจุบัน
ยกเว้นช่วงระยะเวลาหนึ่งที่มีกษัตริย์ชาวเดนมาร์กปกครอง กษัตริย์ชาวเดนมาร์กองค์แรกมี
พระนามว่า คนูท หรือคานูท
In the north, the threat of attack by Vikings had encouraged the people to
unite under one king, Kenneth MacAlpin. The term Scotland began to be used
to describe that country.
กลุ่มชนในภาคเหนือที่หวาดเกรงการบุกรุกโจมตีจากพวกไวกิ้งได้เข้ารวมตัวกันอยู่ภายใต้การนำ
ของกษัตริย์ เคนเนธ แม็คอัลพิน และเริ่มมีการใช้คำว่า ‘สก็อตแลนด์’ เพื่อพูดถึงประเทศใน
ส่วนนั้น
The Norman Conquest ยุคนอร์มันครองเมือง
In 1066, an invasion led by William, the Duke of Normandy (in what is now
northern France), defeated Harold, the Saxon king of England, at the Battle of
Hastings. Harold was killed in the battle. William became king of England and
is known as William the Conqueror. The battle is commemorated in a great
piece of embroidery, known as the Bayeux Tapestry, which can still be seen
in France today.
ในปี ค.ศ. 1066 วิลเลียม ดยุคแห่งนอร์มังดี (พื้นที่ตอนเหนือของฝรั่งเศสในปัจจุบัน) ได้ทรง
ยกทัพบุกเข้ามาในอังกฤษ พระเจ้าแฮโรลด์ กษัตริย์ชาวแซกซันแห่งอังกฤษพ่ายแพ้ต่อ
วิลเลียมในการสู้รบที่เมืองเฮสติ้งส์ พระเจ้าแฮโรลด์ทรงถูกฆ่าตายในสนามรบ วิลเลียมได้รับการ
สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ และมีสมญานามว่า ‘วิลเลียมผู้พิชิต’ การรบที่สมรภูมิเฮสติ้งส์
เป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้เป็นอนุสรณ์ในผลงานเย็บปัก ถักร้อยฝีมือเยี่ยมที่เรียกว่า
ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) ซึ่งยังคงสามารถชมกันได้ที่ฝรั่งเศสในปัจจุบัน
The Norman Conquest was the last successful foreign invasion of England and
led to many changes in government and social structures in England. Norman
French, the language of the new ruling class, influenced the development of
the English language as we know it today. Initially, the Normans also conquered
Wales, but the Welsh gradually won territory back. The Scots and the Normans
fought on the border between England and Scotland; the Normans took over
some land on the border but did not invade Scotland.
ชัยชนะของชาวนอร์มันเป็นความสำเร็จครั้งสุดท้ายของชนต่างแดนที่รุกรานเข้ามายึด ครอง
อังกฤษ และได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมายในระเบียบการปกครองและโครงสร้างสังคมของอังกฤษ ภาษานอร์มันเฟรนช์ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นปกครองกลุ่มใหม่ ได้
มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของภาษาอังกฤษที่เรารู้จักทุกวันนี้ ในช่วงแรกๆ ชาว นอร์มันได้เข้า
ยึดครองเวลส์เช่นกัน แต่ชาวเวลส์ต่อสู้ช่วงชิงดินแดนกลับคืนมาทีละน้อย ชาวสก็อตและชาว
นอร์มันได้สู้รบกันในพื้นที่ตามชายแดนระหว่างอังกฤษกับสก็อตแลนด์ ชาวนอร์มันยึดครอง
ที่ดินตามชายแดนได้บางส่วน แต่ไม่ได้บุกเข้าไปในสก็อตแลนด์
William sent people all over England to draw up lists of all the towns and
villages. The people who lived there, who owned the land, and what animals
they owned were also listed. This was called the Domesday Book. It still exists
today and gives a picture of society in England just after the Norman Conquest.
พระเจ้าวิลเลียมได้ทรงส่งคนไปสำรวจและจัดทำรายชื่อเมืองและหมู่บ้านทุกแห่งทั่วอังกฤษ
และสั่งให้บันทึกรายชื่อผู้คนที่อาศัยอยู่และเป็นเจ้าของที่ดินในเมืองและหมู่บ้านเหล่านั้น ตลอด
จนรายการสัตว์ต่างๆ ที่พวกเขามีอยู่ในความครอบครองด้วย เอกสารบันทึกนี้มีชื่อว่า ‘บันทึก
ดูมส์เดย์’ ซึ่งปัจจุบันนี้ยังคงมีอยู่ และเป็นเอกสารที่ช่วยให้มองเห็นภาพสังคมในอังกฤษภายหลัง
การยึดครองของชาวนอร์มันได้ดี